วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561

แผนภาพบริบท (conteext dlagram) 
     เป็นแผนภาพกระเเสข้อมูลระดับบนสุดที่เเสดงภาพรวมทั้งหมดของระบบที่มีความสัมพันธ์กับสภาพเเวดล้อมภายนอกระบบ ซึ่งประกอบด้วย กระบวนการเพียงกระบวนการเดียวนั่นคือ ระบบที่ศึกษา บุคคล ระบบภายนอก และการเคลื่อนที่ของข้อมูลจากภายนอกระบบสู่ระบบ




2.3ออกแบบระบบ
       ออกเบบระบบ คือ ขั้นตอนการกำหนดวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ จากขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ โดยขั้นตอนนี้จะกำหนดขั้นตอนการทำงานโดยใช้แผนภาพเเสดงลำดับขั้นตอนการทำงาน(flowchart) แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล (Entity Relationship Diagram : ER Diagram) พจนานุกรมข้อมูล (data dictionary) หน้าจอส่วนติดต่อกับผู้ใช้งาน (Graphic User Interface : GUI) เทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาใช้ในกระบวนการแก้ปัญหาต่างๆ ของระบบงาน ลักษณะการเขียนชุดคำสั่ง รวมถึงจัดทำเอกสารการออกแบบระบบ เช่น ลักษณะการจัดเก็บข้อมูลสมาชิก เป็นต้น
2.4 พัฒนาระบบเเละทดสอบระบบ
       พัฒนาระบบ เเละทดสอบระบบ คือ ขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ เพื่อพัฒนาระบบ โดยดำเนินงานตามการออกแบบจากขั้นตอนการออกแบบระบบ เช่น การเขียนชุดคำสั่งต่างๆ เพื่อสร้างซอฟแวร์ การสร้างฐานข้อมูลเพื่อจัดเก็บข้อมูล จัดทำเอกสารพัฒนาระบบ รวมถึงการทดสอบระบบงานว่าสามารถทำได้อย่างถูกต้อง เเละตรงตามตวามต้องการของผู้ใช้งานจากขั้นตินการวิเคราะห์ระบบหรือไม่ โดยทดสอบระบบในสภาพแวดล้อมจำลองและสภาพแวดล้อมจริง เป็นต้น


2.5ติดตั้งระบบ
       ติดตั้งระบบ คือ ขั้นตอนการนำซอฟแวร์เเละระบบงานใหม่ที่เสร็จสมบูรณ์มาติดตั้งในสภาพแวดล้อมการทำงานจริง จัดทำเอกสารการจัดตั้งระบบงานใหม่เเละคู่มือการใช้งาน จัดฝึกอบรมผู้ใช้งาน ดำเนินการใช้ระบบงานใหม่ ประเมินผลการใช้งานระบบงานใหม่ เพื่อหาจุดบกพร่องต่างๆ ซึ่งการใช้งานระบบงานใหม่นั้น ควรใช้งานควบคู่กับระบบงานเดิม (กรณีที่มีระบบงานเดิม) โดยใช้ข้อมูลชุดเดียวกัน เเละเปรียบเทียบผลลัพธ์ว่าตรงกันหรือไม่ หากถูกต้องตรงกันจึงนำระบบงานเดิมออก เเล้วใช้งานระบบใหม่แทนที่


2.6บำรุงรักษาระบบ
       บำรุงรักษาระบบ คือ ขั้นตอนการดูแลระบบต่างๆ เช่น การแก้ไขจุดบกพร่องที่เกิดขึ้นหลังจากการใช้งานในสภาพเเวดล้อมจริง การเพิ่มเติมความสามารถของระบบงาน การปรับเปลี่ยนการทำงานบางประการให้ทันสมัยมากขึ้น เป็นต้น จากขั้นตอนการพัฒนาโครงงานทางเทคโนโลยีสามารถนำเอาหลักแนวคิดเชิงคำนวณเข้าไปประยุกต์ใช้ตั้งเเต่การกำหนดปัญหาหลักฬหญ่ของโครงงาน และเเยกแยะปัญหาย่อย จากนั้นทำการหารูปแบบในการแก้ปัญหาต่างๆ

ขั้นตอนการดำเนิน (process) เป็นการดำเนินการตอบสนองข้อมูลที่รับเข้า หรือดำเนินการตอบสนองเงื่อนไขสภาวะใดๆ ที่เกอดขึ้น ไม่ว่าขั้นตอนการดำเนินงานนั้นจะกระทำโดยบุคคล หน่วยงาน หุ่นยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ตาม


      แหล่งจัดเก็บข้อมูล (data store) เป็นแหล่งเก็บเเละบันทึกข้อมูล เปรียบสเหมือนคลังข้อมูล (เทีบยเท่ากับไฟล์ข้อมูล และฐานข้อมูล) โดยอธิบายรายละเอียด คือสี่เหลี่ยมเปิดหนึ่งข้าง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้เเก่ ส่วนที่ 1 ทางด้านซ้ายใช้ตัวรหัสของ data store โดยอาจจะเป็นหมายเลขลำดับหรือตัวอักษรได้ เช่น D1 D2 เป็นต้น สำหรับส่วนที่ 2 ทางด้านขวา ใช้แสดงชื่อ Data store หรือชื่อไฟล์


     ตัวแทนข้อมูล (external agents) หมายถึง บุคคลหน่วยงานในองค์กร องค์กรอื่นๆ หรือระบบงานอื่นๆ ที่อยู่ภายนอกขอบเขตของระบบ แต่มีความสัมพันธ์กับระบบโดยมีการส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อดำเนินงาน เเละรับข้อมูลที่ผ่านการดำเนินงานเรียบร้อยเเล้วจากระบบ สัญลักษณ์ที่ใช้อธิบาย คือ สี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในจะต้องแสดงชื่อตัวแทนข้อมูล โดยสามารถทำซ้ำได้ด้วยการใช้เครื่องหมาย \ (black slash) ตรงมุมล่างซ้าย

     เส้นทางการไหลของข้อมูล (Data flow) เป็นการสื่อสารระหว่างขั้นตอนการทำงานต่างๆ เเละสภาพเเวดล้อมภายนอก หรือภายในระบบ โดยเเสดงถึงข้อมูลที่นำเข้าเเละส่งออกไป ในเเเต่ละขั้นตอนใช้ในการเเสดงถึงการบันทึกข้อมูล การลบข้อมูล และการแก้ไขข้อมูลต่างๆ สัญลักษณ์ ที่ใช้อธิบายเส้นทางการไหลของข้อมูล คือ เส้นตรงที่ประกอบด้วยหัวลูกศรเพื่อบอกทิศทางการเดินทางหรือการไหลของข้อมูล

แนวคิดเชิงคำนวณ

แนวคิดเชิงคำนวณประกอบด้วยลำดับการใช้ทักษะ 4 ทักษะ ดังนี้

1.แนวคิดการเเยกย่อย (Decomposition) 
แตกปัญหาใหญ่ให้เป็นปัญหาย่อยที่มีขนาดเล็กลง เพื่อให้สามารถจัดการปัญหาได้ง่ายขึ้น ทักษะนี้เท่ากับการคิดวิเคราะห์
      *แตกปัญหากระบวนการออกเป็นส่วนย่อย

2.แนวคิกการจดจำรูปแบบ(Pattern Recognition)
กำหนดแบบแผนจากปัญหาย่อยๆ จากปัญหาที่มีรูปแบบที่หลากหลาย โดยปัญหาต่างๆ มักมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือหากเราเข้าใจปัญหา จะพบว่าปัญหาที่แตกต่างกัน สามารถใช้วิธีการในการเเก้ไขปัญหาแบบเดียวกันได้ ทักษะเทียบเท่ากับการคิดวิเคราะห์แบบเชื่อมโยง
       *ดูความเหมือน ความเเตกต่างของรูปแบบการเปลี่ยนแปลง


3.แนวคิดเชิงนามธรรม(Abstraction)
การหาแนวคิดเชิงนามธรรมหรือการนิยาม เพื่อหาแนวคิดรวบยอดของเเต่ละปัญหาย่อย เป็นการมุ่งเน้นความสำคัญของปัญหาโดยไม่สนใจรายละเอียดที่ไม่จำเป็น เพื่อให้สามารถเข้าใจถึงแก่นแท้ของปัญหา ทักษะนี้เทียบเท่ากับการคิดสังเคราะห์ จนได้มาซึ่งแบบจำลอง(Model) เชน แบบจำลองต่างๆ แบบจำลองทางคนิตศาสตร์ในรูปแบบของสมการหรือสูตรเป็นต้น
          *มุ่งเน้นความสำคัญของปัญหาโดยไม่สนใจรายละเอียดที่ไม่จำเป็น

4.แนวคิดการออกแบบขั้นตอน(Algorithm Design)
ออกแบบลำดับขั้นตอนการแก้ปัญหาด้วยการคิดเชิงอัลกอริทึม เป็นความคิดพื้นฐานในการสร้างชุดของลำดับขั้นตอนวิธีการง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาที่มีลักษณะแบบเดียวกันได้
           *แก้ปัญหาโดยการออกแบบกระบวนการทำงานอย่างเป็นลำดับขั้นตอน

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2561

เเนวคิดเชิงคำนวณ(Computational Thinking)

    เเนวคิดเชิงคำนวณ(Computational Thinking) 
      ไม่ใช่การคิดเหมือนหุ่นยนต์หรือการเขียนโปรเเกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ เเต่เป็นทักษะที่มุ่งเน้นการคิดเชิงตรรกะ คือ สามารถอธิบายการคิดเชิงคำนวณอย่างเป็นระบบ หรือเป็นการเเก้ไขปัญหาอย่างเป็นลำดับขั้นตอน โดยการเข้าใจปัญหาเเละวิธีการในการเเก้ไขปัญหา อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้มาซึ่งวิธีการเเก้ไขปัญหาที่ทั้งมนุษย์เเละคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจร่วมกันได้